สู่การเมือง ของ กมลา ประสาท-พิเสสร

กมลา ได้เข้าเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตเลือกตั้งเมืองซิพาเรีย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1995 เธอทำหน้าที่อัยการสูงสุดในปี ค.ศ. 1995 เมื่อพรรคก่อตั้งรัฐบาลในวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 2000 กมลาได้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

วันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 2006 เธอได้รับเสียงสนับสนุนอย่างท่วมท้นจากสมาชิกในพรรคในการตอบกระทู้ของฝ่ายค้าน[5] ต่อมาเมื่อประธานาธิบดีจอร์จ แมกซ์เวล ริชาดส์ ได้มีการประกาศว่าตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านได้ว่างลง[6] หลังจากที่พัสเทว ปันเฑ ถูกตัดสินว่าไม่สามารถยื่นข้อมูลที่สมบูรณ์ของบัญชีธนาคารต่อคณะกรรมการซึ่งจัดตั้งขึ้นที่กรุงลอนดอน[7] และชื่อของนายปันเฑยังอยู่ในศาลอุทธรณ์ จึงมีการแต่งตั้งนางกมลา ประสาท-พิเสสร ขึ้นเป็นหัวหน้าฝ่ายค้านเมื่อวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 2006

ผู้นำทางการเมือง

วันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 2010 กมลาได้รับเลือกตั้งให้เป็นหัวหน้าพรรคโดยมีชัยชนะเหนือพัสเทว ปันเฑ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งพรรค เธอได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าฝ่ายค้านอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกันนั้นเอง

นายกรัฐมนตรี

กมลา ประสาท-พิเสสร ได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 ซึ่งทำให้เธอกลายเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศตรินิแดดและโตเบโก

นอกจากนี้นางกมลายังเป็นสตรีคนแรกที่เป็นประธานคณะกรรมการสำนักงานในเครือจักรภพ ซึ่งต่อมาตำแหน่งประธานดังกล่าวได้ตกเป็นของจูเลีย กิลลาร์ด นายกรัฐมนตรีหญิงของออสเตรเลีย

ใกล้เคียง

กมลาสน์ เอียดศรีชาย กมลา ประสาท-พิเสสร กมลา แฮร์ริส กมลา สุโกศล กมลา ยุคล ณ อยุธยา กาลาทาซาไรสปอร์คูลือบือ (ฟุตบอล) กะลา (วงดนตรี) กมลเนตร เรืองศรี กาลานุกรมวิวัฒนาการมนุษย์ กลาส-ยัน ฮึนเตอลาร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: กมลา ประสาท-พิเสสร http://www.caribbeannetnews.com/2006/01/16/trial.s... http://www.kamlapersadbissessar.com/ http://www.nationnews.com/index.php?print/index/10... http://www.pravasitoday.com/indian-origin-tt-pm-ka... http://www.trinidadexpress.com/index.pl/article_ne... http://www.trinidadexpress.com/index.pl/article_ne... http://www.trinidadexpress.com/news/DENGUE_STRIKES... http://www.ttgapers.com/Article2073.html http://www.cananews.net/news/131/ARTICLE/49722/201... http://www.ttparliament.org/members.php?mid=54&id=...